จิตวิทยาการเงิน The psychology of money
ผู้เขียน: Morgan Housel
สำนักพิมพ์: ลีฟ ริช ฟอร์เอฟเวอร์/Leaf Rich Forever
สารบัญ : The Psychology of Money : จิตวิทยาว่าด้วยเงิน
- บทนำ : การเผยให้เห็นความจริงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลก
- บทที่ 1 : ไม่มีใครเป็นคนบ้า
- บทที่ 2 : โชคและความเสี่ยง
- บทที่ 3 : ไม่เคยพอ
- บทที่ 4 : การทบต้นที่ทำให้งงงวย
- บทที่ 5 : ได้มาซึ่งความมั่งคง กับ รักษาไว้ซึ่งความมั่งคั่ง
- บทที่ 6 : หางยาว คุณชนะ
- บทที่ 7 : อิสรภาพ
- บทที่ 8 : ความย้อนแย้งของชายในรถยนต์
- บทที่ 9 : ความมั่งคั่งคือสิ่งที่คุณมองไม่เห็น
- บทที่ 10 : เก็บออม
คนมั่งคั่งกับคนรวยนั่นแตกต่างกัน คนรวยที่อาจจะมีเงินมหาศาลก็จริง แต่ไม่มีเวลาใช้ชีวิต ไม่มีเวลาใช้เงินที่เขาครอบครอง เพราะต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาดูแลสุขภาพหรือดูแลคนที่เขารัก
ส่วนคนมั่งคั่งคือคนที่มีทั้งทรัพย์สินมากพอที่จะใช้ได้อย่างไม่ขัดสน มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเวลา และมีความสัมพันธ์ที่ดี
ผู้เขียนได้เกริ่นไว้ด้วยว่าโลกของเรามีทั้งอดีต CEO ที่จบจากมหาวิทยาลัยฮาวอทแล้วหมดตัวในตอนสุดท้าย และภารโรงที่มีเงินเก็บมากกว่า 8,000,000 เหรียญ
มีสองเรื่องในชีวิตมนุษย์ที่สำคัญ ต่อให้คุณจะสนใจหรือไม่คือเรื่องของสุขภาพและเงิน
ทุกคนมีความแตกต่าง ทุกคนไม่เหมือนกัน นี่คือการเปิดบทของหนังสือเล่มนี้ คุณมอร์แกนเค้าบอกว่าหลายครั้งเลยเราอาจจะเห็นบางคนที่ตัดสินใจแปลกๆ ในเรื่องของการเงิน เราเห็นบางคนเอาเงินไปออลอินในคลิปโต บางคนมองว่าแปลก บางคนมองว่าเป็นคนที่กล้า และเค้าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งความคิดเห็นก็แตกต่างกัน
เราไม่ควรตำหนิความคิดที่แตกต่าง ต่อให้เราจะเห็นหรือเราจะรู้มากแค่ไหนก็ตาม ไม่มีทางที่เราจะรู้เรื่องกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นเรื่องที่ยังเกิดขึ้นไม่นานมากนัก เราทุกคนไม่เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นด้านอายุ การศึกษา วัฒนธรรม ประสบการณ์ ชีวิตสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะอะไรก็ตาม แต่ละคนก็จะมีความเข้าใจโลกที่แตกต่างกั นซึ่งก็รวมไปถึงเรื่องของการเงินที่ถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน
ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ในเรื่องของช่วงอายุค นก็จะมี Gen X, Gen Y, Baby Boomer ที่ได้เจอประสบการณ์ที่แตกต่างกัน คนที่เคยผ่านวิกฤติเศรษฐกิจหนักๆ ก็จะมีมุมมองที่ไม่เหมือนกับคนที่ยังไม่เคยผ่านวิกฤติ ถึงแม้ว่าบางคนจะพยายามทำความเข้าใจ แต่ก็ไม่เหมือนกับคนที่ได้เจอประสบการณ์ได้รับผลกระทบในเรื่องนั้นจริงๆ
ลองคิดดูสิครับว่าคนที่อยู่ในช่วงสงครามโลก เค้าจะมีแนวคิดในเรื่องของการเงินว่าอย่างไร อาจจะเป็นการออมเงินดีที่สุด การใช้ชีวิตด้วยความไม่เสี่ยงจะทำให้เขาปลอดภัยมากที่สุด แต่ถ้าเป็นยุคนี้ คนยุคนี้เชื่อว่าการนำเงินไปลงทุนจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด เห็นไหมครับว่าความเชื่อแต่ละช่วงอายุแต่ละคนแตกต่างกันอย่างมากมหาศาล